วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ศิลปะโรโคโค

ศิลปะโรโคโค


ศิลปะโรโคโค (ภาษาอังกฤษ:Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค


คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำ ผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนต้วของใบไม้ เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะ สมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ศิลปะตะวันตก



ศิลปโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภาย ใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งาน สำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15


พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (พระนามเมื่อแรกเกิดคือ หลุยส์ ดยุคแห่งอองชู Duke de Anjou)


พระราชวังแวร์ซายส์

พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน


ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปโรโคโครุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และ เฟอร์นิเจอร์ จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ศิลปโรโคโคยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโคโคจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric)

ศิลปินสมัยโรโคโค

ฌอง อองตวน วัตโตว์























ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) 10 ตุลาคม พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1684) – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2264 (ค.ศ. 1721) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของ “ชนชั้นสูง” (fêtes galantes) อองตวน วัตโตว์เป็นหนึ่งนักวาดภาพร่างยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของศิลปะยุโรป













ภาพวาด “การเริ่มดำเนินการสำหรับไซเธอรา ” เป็นงานที่อองตวน วัตโตว์ได้รับความเป็นสมาชิกราชสถาบันศิลปะ (royal academy) เต็มตัวในพ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) มันสร้างสร้างชื่อให้เขาว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญของชนชั้นสูง” เป็นผู้บันทึกเหตุการณ์เศร้าโศกและแปลกประหลาดในวันของเขา ไม่นานก่อนความตายของเขา วัตโตว์วาด “พินัยกรรมทางศิลปะ” ของเขา ป้ายร้านของเชร์แซ็งต์(L'Enseigne de Gersaint, Gersaint’s Sign Shop) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพวาดสุดท้ายของวัตโตว์


ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher)





































Le Dejeuner โดยบูแชร์แสดงให้เห็นองค์ประกอบชีวิตของภาพเขียนแบบโรโคโค (ค.ศ. 1739, พิพิธภัณฑ์ลูฟร์)




Diana Leaving her Bath โดย ฟรังซัวส์ บูแชร์




คิวปิดแกะลูกศรจากกระบองของเฮอร์คิวลีส โดย ประติมากรเอ็ดเม บูชาดอง (Edmé Bouchardon)







ประติมากรรมชื่อ ปิเอตา ( Pieta )

ผลงานของ มิเคลันเจโล (Michelongelo Buonarroti)

แสดงคุณค่าด้านความงามขององค์ประกอบศิลป์ที่จัดไว้ในแนวกรอบของรูปสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่นิยมกันมากในผลงาน ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
(Renaissance) นอกจากนั้นยังแสดงความงามของแนวเส้นโค้งของพระเศียรพระแม่มาเรีย
ที่ก้มพระพักตร์ลงกับแนวเส้นโค้งของพระวรกายองค์พระเยซูที่นอนพาดอยู่บนตัก
อย่างงดงามกลมกลืน ได้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างดี ทำให้มองเห็นถึงความรู้สึกของแม่
ผู้มีความรักความผูกพันต่อลูก รวมทั้งยังได้คุณค่าสาระทางด้านศาสนาอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น